วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา


มื่วัที่วัพุที่ 27 2554 ที่ผ่านมา  
ข้าพเจ้าและเพื่อนๆศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาจีน   ได้ไปทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักที่นี่กันก่อนดีกว่า

บริเวณด้านหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
     หลายคนที่มาจากต่างจังหวัด คงจะไม่คุ้นหูกับคำว่า “พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ”แค่นี่เป็นชื่อที่รู้จักดี ในหมู่ชาวชลบุรี  และจังหวัดใกล้เคียง หรือนั่นก็คือ“สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล”นั่นเอง ซึ่งพัฒนามาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2512 ในปีพ.ศ.2523 ได้ของบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นมูลค่า230ล้านบาทเพื่อจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้บริการด้านความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่บุคคลทั่วไปในรูปแบบหลักๆ 2 แบบ คือ สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านวิชาเพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปโดยการออกไปจัดนิทรรศการในที่ต่างๆ การจัดการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาวิชาการ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันตั่งแต่8.30-16.00
     สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลตั่งอยู่บริเวณรด้านหน้าทางเข้าของมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งก็อยู่ใกล้กับหอพักทำให้เดินทางสะดวกได้พบปะผู้คนเป็นจำนวนมากได้สื่อสารพูดคุยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก และเป็นแหล่งสร้างและให้ความรู้กับผู้อื่นเป็นการเรียนรู้วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับวิถีเมืองที่อยู่ใกล้ตัว
สัตว์น้ำชนิดต่างๆ ภายในสถาบัน ฯ
สถานที่นี้ได้รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำเค็มชนิดต่างๆ ไว้หลายชนิดในแต่ละวันมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาเยี่ยมชมตลอดทั่งวันมีทั่งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนมากจะมาในรูปแบบเป็นหมู่คณะ สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคม ต่างๆที่มาที่นับ100ชีวิต  จะมีการแบ่งกลุ่มการเข้าเยี่ยมชมเพื่อความสะดวก
ในการเยี่ยมชมในส่วนที่ได้ขอวิทยากรเพื่อนำเยี่ยมชมนั้นก็จะมีวิทยากรทั่งที่มืออาชีพและมือสมัครเล่นอาสาพาเยี่ยมชม ฝีมือนั้นไม่แพ้กันเลย และวิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยายให้กับกลุ่มของพวกเราคือ พี่อัจรา  พี่เป็นนักศึกษาฝึกงาน แต่ฝีปากกล้ายิ่งนัก  ทำให้น้องๆ สนุกสนานเพลินใจกันอย่างอิ่มอุรา นอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังมีความรู้มากมายที่ได้รับ  อย่างอย่างแรกเลยคือได้รู้จักปลาชนิดต่างๆ ทั้งปลาเศรษฐกิจ ปลาแปลก และมีพิษ และที่สำคัญที่สุดคือได้นำความรู้จากการเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในเรื่องสื่อ "จากนามธรรมสู่รูปธรรม" ไม่ว่าจะเป็นตู้อันตรทัศน์  
ตู้อันตรทัศน์ สื่อที่เป็นของจริง 3 มิติ
ซึ่งมีอยู่อยู่รอบบริเวณ แต่ที่ใหญ่ที่สุดคือ ตู้จำลองโลกใต้ทะเลทำให้เห็นปลาได้ชัดเจนมาก อีกทั้งสื่อกราฟิกต่างๆ อาทิกราฟิกที่เป็นแผนภูมิแบบสายธารต้นไม้อาณาจักร และมีการตกแต่งตามฝาผนัง ซึ่งออกแบบให้เสมือนอยู่ในโลกใต้ทะเล และสื่ออีกอย่างที่ได้เห็นชัดแจนคือกระบะทรายซึ่งเป็นการแสดงหอยชนิดต่างๆไว้ สาระในวันนั้นยังมีอีกมากมายแต่ที่สำคัญคือ “ประสบการณ์”  ประสบการณ์เป็นสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ เป็นสิ่งที่ตราตรึงฝั่งแน่นอยู่ในความทรงจำของเรา  ไม่มีใครสามารถขโมยมันออกไปจากเราได้  เพียงแต่ถ้าเราไม่ลืมมันไปเสียเอง  “เพราะคำว่าไม่ลืม  มันไม่มีอยู่บนโลกกลมๆใบนี้ มีแต่ลืมช้าหรือลืมเร็ว”

ถ่ายภาพหมู่ที่ระลึกกันที่ด้านหน้าครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น