วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

การศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก

การศึกษาแหล่งการเรียนรู้ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก
  
  
           สวัสดีดีท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมขอนำเสนอประสบการณ์การเยี่ยมชม "หอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออก"  เกริ่นนำปาน บรรณาธิการเลยเทียว ก็หายหน้าหายตาไปนานเช่นเดิม  ก็ไม่ขอแกตัว ข้าน้อยรับผิดแต่โดยดีว่า   "ขี้เกียจ+ งานเยอะจริงๆ" ใจจริงก็อยากอัฟเดททุกอาทิตย์ แต่ด้วยภาระอันยิ่งใหญ่ จึงไม่สามารถทำได้  ร่ายมาเสียยาว  ขอเชิญทุกท่านน............ติดตามชม..............ได้ ณ บัดนี้.....................................................................





แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีแหล่งข้อมูล แหล่งประสบการณ์ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อาทิเช่น ป้ายนิเทศ วีดีโอภาพยนตร์ ของจำลอง ของจริง  เป็นต้น     
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เหมาะสำหรับเป็นแหล่งการเรียนรู้ของการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เพราะหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออก มีการนำความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณต่างๆ  ของภาคตะวันออก  ในแต่ละยุค แต่ละช่วงสมัย และมีการนำเสนอวัฒนธรรมประเพณีของภาคตะวันออก ให้ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้มีความสอดคล้องกับกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก
บริเวณภาคตะวันออกนับเป็นดินแดนที่มีการติดต่อทางทะเลกับบ้านเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบเนื่องต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 อันเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในภาคตะวันออกซึ่งดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือ อาณาจักรเขมรโบราณและวัฒนธรรมทวารวดี บริเวณภาคตะวันออกของไทย พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาก่อน ซึ่งแบ่งประเภทตามลักษณะภูมิประเทศในการตั้งถิ่นฐาน



กลุ่มที่ ๑ บริเวณเพิงผาและถ้ำบนเทอกเขาสูง สันนิษฐานว่าเป็น กลุ่มชนที่ดำรงชีพด้วยการหาของป่าและสัตว์ป่า
กลุ่มที่ ๒ บริเวณที่ราบเชิงเขา สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มคนที่ขยายตัวลงมาจากกลุ่มแรก รู้จักการทำมาหากินแบบเกษตรกรรมระดับหมู่บ้าน
กลุ่มที่ ๓ บริเวณเนินดินที่ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง ในสมัยโบราณพื้นที่บางส่วนของภาคตะวันออกเป็นทะเล ซึ่งพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ดอนเป็นเนินดินล้อมรอบด้วยทะเล ชุมชนพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก


ตัวอย่างประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา
ภายในหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออกที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale พร้อมคำอธิบาย




ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experience)   เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองหรือของจำลองก็ได้ เช่น การจำลองสภาพวิถีชีวิต หุ่นจำลอง  ตู้อันตรทัศน์หรือสื่อสามมิติ เป็นต้น


การศึกษานอกสถานที่(Field Trip) เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน



นิทรรศการ (Exhibition) เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้และสาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันมากที่สุด เช่น เครื่องจักสาน อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน




ภาพยนตร์ (MotionPicture) เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเห็นและได้ยินเช่นเดี่ยวกับโทรทัศน์ แต่เรื่องราวต่างๆจะทุกบันทึกไว้ในลักษณะของฟิล์มหรืออยู่ในรูปแบบของ สื่อDVD หรือ VCD  สำหรับในด้านภาพยนต์นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก มีปุ่มให้เลือกรับชมได้ตามอัธยาศัย แสง สี เสียง ตระการตา




ภาพนิ่ง การบันเสียง วิทยุ (Recording, Radio and Still Picture) หอศอลป์ฯ ใช้เทคนิคการผสมผสานภาพและเสียงเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เยี่ยมชมเป็นอย่างดี นำทั้งภาพนิ่ง หุ่นจำลอง และการบันทึกเสียงมาสร้างเป็นตู้อันนตรทัศน์ที่สนใจ น่าติดตาม เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวมากๆ


ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)วัสดุกราฟิกประเภทแผนที่โดย เป็นแผนที่แสดงโบราณสถานสำคัญบริเวณเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี  ซึ่งมีมากมายหลานส่วนทั่วทั้งบริหอศิลป์ฯ






วัจนสัญลักษณ์(Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด    ไม่มีส่วนคล้ายคลึงกับของจริง ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน   เสียงของคำพูดในภาษาพูด เป็นต้น   วัจนสัญลักษณ์เมื่อนำมารวมกับวัสดุกราพพิก การตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม ยิ่งเป็นที่น่าสนใจ น่ามอง มองแล้วเจริญตาเจริญใจ ช่วยให้ผู้เรียน สนใจอ่านมากขึ้น และต้องขอบคุณวิทยากรสาวสวย ใจดี "พี่เนม"  ที่พาพวกเรานิสิตสาขาการสอนภาษาจีน เยี่ยมชมอย่างสนุกสนานและได้ความรู้ "ขอบคุณครับ"  





สมาชิกหนุ่มหล่อสาวสวยของกลุ่มเรา และบรรยากาศโดยรวม            
  (ไม่มีใครชมก็ยอกันเอง 555+)


นางสาวนันทวัน ทองนพคุณ             รหัสประจำตัวนิสิต    54040176
นายนวพล  แก้วทรัพย์ทวีกุล            รหัสประจำตัวนิสิต    54040870
นางสาวสิริรักษ์    สิงห์เอี่ยม            รหัสประจำตัวนิสิต    54040903
นางสาวสุนิสา  สุกใส                     รหัสประจำตัวนิสิต    54040665
นางสาวอรพรรณ     มารยาท           รหัสประจำตัวนิสิต    54040878


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ "ก้าวแรกภาษาจีน"



สวัสดีเจ้า  วันนี้พี่อาร์ต และพี่เอย สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ มาฝาก
"ก้าวแรกภาษาจีน"

Input (ปัจจัยนำเข้า)
ผู้เรียน      :  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียน   :  รัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
กลุ่มสาระ :  การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
วิชา           :  ภาษาจีน


Process (กระบวนการผลิต)
1. วางแผนการผลิต  คือ ตั้งวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถเรียนรู้ พูด อ่าน เขียนคำศัพท์และบทสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2.ขั้นหลังการถ่ายทำ  
     - เขียนบทเรียนโดยอ้างอิงจากหนังสือ 说汉语 พูดจีนจากจินตภาพ
- คัดเลือกรูปภาพที่มีเนื้อหาตรงตามบทเรียน
- จัดลำดับรูปภาพและเนื้อหาตามบทเรียนที่วางแผนไว้
- จัดรูปแบบการนำเสนอ (Visual Effect)
- เพิ่มเสียงเพลงประกอบการนำเสนอ
3.ขั้นหลังการถ่ายทำ
ทดสอบความถูกต้องของลำดับภาพและเนื้อหา จากนั้นนำไฟล์ข้อมูลลง www.youtube.com และคัดลอก Link เพื่อเผยแพร่ใน Webblog


Output (ผลลัพธ์)
ได้บทเรียนวีดีทัศน์เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และบทสนทนาภาษาจีนเบื้องต้น

Feedback (ผลตอบกลับ)
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถสามารถเรียนรู้ พูด อ่าน เขียนคำศัพท์และบทสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ผู้ผลิต
นางสาวจิรญา วงศ์ใหญ่      รหัสนิสิต 54040788
นายนวพล แก้วทรัพย์ทวีกุล          รหัสนิสิต 54040870

คณะศึกษาศาสตร์ การสอนภาษาจีน
มหาวิทยาลัยบูรพา



วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิทัศน์แผ่นดินใหญ่เ ปิดม่านไม้ไผ่ สู่แดนมังกร



วันนี้มีของดี จากแผ่นดินใหญ่มาฝากครับ  ขอบอกว่า  สาวๆทั้งหมดนี้เขาเก่งจริง อะไรจริง วันนี้มาในบทเพลง Miracle -  Twelve Girls Band   แล้วอย่าลืมติดตามกันต่อไปนะครับ  โอกาสดี เพลงนี้เอกการสอนภาษาจีนของเราจะมาบรรเลงให้ท่านฟังอย่าแน่นอน  หวังว่าฟ้าคงเป็นใจนะครับ

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา


มื่วัที่วัพุที่ 27 2554 ที่ผ่านมา  
ข้าพเจ้าและเพื่อนๆศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาจีน   ได้ไปทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักที่นี่กันก่อนดีกว่า

บริเวณด้านหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
     หลายคนที่มาจากต่างจังหวัด คงจะไม่คุ้นหูกับคำว่า “พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ”แค่นี่เป็นชื่อที่รู้จักดี ในหมู่ชาวชลบุรี  และจังหวัดใกล้เคียง หรือนั่นก็คือ“สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล”นั่นเอง ซึ่งพัฒนามาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2512 ในปีพ.ศ.2523 ได้ของบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นมูลค่า230ล้านบาทเพื่อจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้บริการด้านความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่บุคคลทั่วไปในรูปแบบหลักๆ 2 แบบ คือ สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านวิชาเพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปโดยการออกไปจัดนิทรรศการในที่ต่างๆ การจัดการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาวิชาการ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันตั่งแต่8.30-16.00
     สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลตั่งอยู่บริเวณรด้านหน้าทางเข้าของมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งก็อยู่ใกล้กับหอพักทำให้เดินทางสะดวกได้พบปะผู้คนเป็นจำนวนมากได้สื่อสารพูดคุยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก และเป็นแหล่งสร้างและให้ความรู้กับผู้อื่นเป็นการเรียนรู้วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับวิถีเมืองที่อยู่ใกล้ตัว
สัตว์น้ำชนิดต่างๆ ภายในสถาบัน ฯ
สถานที่นี้ได้รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำเค็มชนิดต่างๆ ไว้หลายชนิดในแต่ละวันมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาเยี่ยมชมตลอดทั่งวันมีทั่งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนมากจะมาในรูปแบบเป็นหมู่คณะ สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคม ต่างๆที่มาที่นับ100ชีวิต  จะมีการแบ่งกลุ่มการเข้าเยี่ยมชมเพื่อความสะดวก
ในการเยี่ยมชมในส่วนที่ได้ขอวิทยากรเพื่อนำเยี่ยมชมนั้นก็จะมีวิทยากรทั่งที่มืออาชีพและมือสมัครเล่นอาสาพาเยี่ยมชม ฝีมือนั้นไม่แพ้กันเลย และวิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยายให้กับกลุ่มของพวกเราคือ พี่อัจรา  พี่เป็นนักศึกษาฝึกงาน แต่ฝีปากกล้ายิ่งนัก  ทำให้น้องๆ สนุกสนานเพลินใจกันอย่างอิ่มอุรา นอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังมีความรู้มากมายที่ได้รับ  อย่างอย่างแรกเลยคือได้รู้จักปลาชนิดต่างๆ ทั้งปลาเศรษฐกิจ ปลาแปลก และมีพิษ และที่สำคัญที่สุดคือได้นำความรู้จากการเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในเรื่องสื่อ "จากนามธรรมสู่รูปธรรม" ไม่ว่าจะเป็นตู้อันตรทัศน์  
ตู้อันตรทัศน์ สื่อที่เป็นของจริง 3 มิติ
ซึ่งมีอยู่อยู่รอบบริเวณ แต่ที่ใหญ่ที่สุดคือ ตู้จำลองโลกใต้ทะเลทำให้เห็นปลาได้ชัดเจนมาก อีกทั้งสื่อกราฟิกต่างๆ อาทิกราฟิกที่เป็นแผนภูมิแบบสายธารต้นไม้อาณาจักร และมีการตกแต่งตามฝาผนัง ซึ่งออกแบบให้เสมือนอยู่ในโลกใต้ทะเล และสื่ออีกอย่างที่ได้เห็นชัดแจนคือกระบะทรายซึ่งเป็นการแสดงหอยชนิดต่างๆไว้ สาระในวันนั้นยังมีอีกมากมายแต่ที่สำคัญคือ “ประสบการณ์”  ประสบการณ์เป็นสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ เป็นสิ่งที่ตราตรึงฝั่งแน่นอยู่ในความทรงจำของเรา  ไม่มีใครสามารถขโมยมันออกไปจากเราได้  เพียงแต่ถ้าเราไม่ลืมมันไปเสียเอง  “เพราะคำว่าไม่ลืม  มันไม่มีอยู่บนโลกกลมๆใบนี้ มีแต่ลืมช้าหรือลืมเร็ว”

ถ่ายภาพหมู่ที่ระลึกกันที่ด้านหน้าครับ

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มาท่อง ก. ไก่กัน

       เพื่อนๆๆ  ยังท่อง ก. ไก่ - ฮ. นกฮูกกันได้  ไหม...   วันนี้ไหนๆ ก็เรียนเรื่องการใช้สื่อมาแล้วว  มาครับๆๆๆมาดู  แบบแร๊พๆกันครับบ  เอาใจวัยรุ่นครับๆๆ

การแบ่งประเภทสื่อการสอน


การแบ่งประเภทสื่อการสอน
สื่อการสอน  หมายถึงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน 
เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง  วิทยุ  หรือเทปบันทึกเสียง  เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว  เช่น  สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์  หรือภาพวาด  ภาพล้อ  หรือภาพเหมือนจริง  ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง  ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้  ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก  ก็สามารถเข้าใจใจเนื้อหาบทเรียนได้  เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพฃ


1 .มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภทวัสดุว่าเป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
        สิ่งของทุกอย่างมีคุณค่า มีความเหมาะสมสำหรับตัวมันเองและการนำไปใช้  และการศึกษาคือการลงทุน หากเราเสียไปซึ่งวัสดุและได้มาซึ่งความรู้อันเป็นทรัพย์ที่ยั่งยืนหาสิ่งใดเปรียบ สิ่งนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้และเสียไป
2. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
       กรวยประสบการณ์ หรือ Cone of Experienceอดการ์ เดล (Edgar Dale)      ได้จัดแบ่งสื่อการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็แสดงขั้นตอน ของประสบการณ์การเรียนรู้        และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของบรุนเนอร์ (Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาก่อนนำสร้างเป็น กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  เน้นสาระสำคัญจากการได้ลงมือ        ปฎิบัติจริงสัมผัสและได้เห็นจริง ทั้งการดำเนินชีวิตและการทำงาน ซึ่งทุกสิ่งอย่างล้วนเป็นรูปธรรม จึงก่อให้เกิดความรู้ อย่างไรก็ตามผู้ทฤษีดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้กับบุคคลที่มีความพิการทางด้านร่างกายได้อย่างสมบูรณ์  เนื่องจากทุกขั้นตอนต้องอาศัยการสัมผัสและได้ยิน หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ไม่มากก็น้อย อาทิ หากบุคคลพิการทางสายตามองไม่เห็นก็จะไม่สามารถเห็นในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หรือหากขาดการได้ยินก็ไม่สามารถรับฟังเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้  เป็นต้น