วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก
สวัสดีดีท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมขอนำเสนอประสบการณ์การเยี่ยมชม "หอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออก" เกริ่นนำปาน บรรณาธิการเลยเทียว ก็หายหน้าหายตาไปนานเช่นเดิม ก็ไม่ขอแกตัว ข้าน้อยรับผิดแต่โดยดีว่า "ขี้เกียจ+ งานเยอะจริงๆ" ใจจริงก็อยากอัฟเดททุกอาทิตย์ แต่ด้วยภาระอันยิ่งใหญ่ จึงไม่สามารถทำได้ ร่ายมาเสียยาว ขอเชิญทุกท่านน............ติดตามชม..............ได้ ณ บัดนี้.....................................................................
แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีแหล่งข้อมูล แหล่งประสบการณ์ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อาทิเช่น ป้ายนิเทศ วีดีโอภาพยนตร์ ของจำลอง ของจริง เป็นต้น
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เหมาะสำหรับเป็นแหล่งการเรียนรู้ของการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เพราะหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออก มีการนำความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณต่างๆ ของภาคตะวันออก ในแต่ละยุค แต่ละช่วงสมัย และมีการนำเสนอวัฒนธรรมประเพณีของภาคตะวันออก ให้ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้มีความสอดคล้องกับกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก
บริเวณภาคตะวันออกนับเป็นดินแดนที่มีการติดต่อทางทะเลกับบ้านเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบเนื่องต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 อันเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในภาคตะวันออกซึ่งดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือ อาณาจักรเขมรโบราณและวัฒนธรรมทวารวดี บริเวณภาคตะวันออกของไทย พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาก่อน ซึ่งแบ่งประเภทตามลักษณะภูมิประเทศในการตั้งถิ่นฐาน
กลุ่มที่ ๑ บริเวณเพิงผาและถ้ำบนเทอกเขาสูง สันนิษฐานว่าเป็น กลุ่มชนที่ดำรงชีพด้วยการหาของป่าและสัตว์ป่า
กลุ่มที่ ๒ บริเวณที่ราบเชิงเขา สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มคนที่ขยายตัวลงมาจากกลุ่มแรก รู้จักการทำมาหากินแบบเกษตรกรรมระดับหมู่บ้าน
กลุ่มที่ ๓ บริเวณเนินดินที่ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง ในสมัยโบราณพื้นที่บางส่วนของภาคตะวันออกเป็นทะเล ซึ่งพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ดอนเป็นเนินดินล้อมรอบด้วยทะเล ชุมชนพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก
ตัวอย่างประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา
ภายในหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออกที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale พร้อมคำอธิบาย
ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experience) เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองหรือของจำลองก็ได้ เช่น การจำลองสภาพวิถีชีวิต หุ่นจำลอง ตู้อันตรทัศน์หรือสื่อสามมิติ เป็นต้น
การศึกษานอกสถานที่(Field Trip) เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน
นิทรรศการ (Exhibition) เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้และสาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันมากที่สุด เช่น เครื่องจักสาน อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ภาพนิ่ง การบันเสียง วิทยุ (Recording, Radio and Still Picture) หอศอลป์ฯ ใช้เทคนิคการผสมผสานภาพและเสียงเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เยี่ยมชมเป็นอย่างดี นำทั้งภาพนิ่ง หุ่นจำลอง และการบันทึกเสียงมาสร้างเป็นตู้อันนตรทัศน์ที่สนใจ น่าติดตาม เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวมากๆ

วัจนสัญลักษณ์(Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ไม่มีส่วนคล้ายคลึงกับของจริง ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน เสียงของคำพูดในภาษาพูด เป็นต้น วัจนสัญลักษณ์เมื่อนำมารวมกับวัสดุกราพพิก การตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม ยิ่งเป็นที่น่าสนใจ น่ามอง มองแล้วเจริญตาเจริญใจ ช่วยให้ผู้เรียน สนใจอ่านมากขึ้น และต้องขอบคุณวิทยากรสาวสวย ใจดี "พี่เนม" ที่พาพวกเรานิสิตสาขาการสอนภาษาจีน เยี่ยมชมอย่างสนุกสนานและได้ความรู้ "ขอบคุณครับ"
สมาชิกหนุ่มหล่อสาวสวยของกลุ่มเรา และบรรยากาศโดยรวม
(ไม่มีใครชมก็ยอกันเอง 555+)
นางสาวนันทวัน ทองนพคุณ รหัสประจำตัวนิสิต 54040176
นายนวพล แก้วทรัพย์ทวีกุล รหัสประจำตัวนิสิต 54040870
นางสาวสิริรักษ์ สิงห์เอี่ยม รหัสประจำตัวนิสิต 54040903
นางสาวสุนิสา สุกใส รหัสประจำตัวนิสิต 54040665
นางสาวอรพรรณ มารยาท รหัสประจำตัวนิสิต 54040878